สำนวนสุภาษิตคำพังเพย
1. ที่มาและความหมายของคำพังเพยที่ว่า “ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
”
คำพังเพย “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”
หมายถึง ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง
ที่มาของคำพังเพย มาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาประชิดเมืองดาหาเพื่อชิงนางบุษบา อิเหนาก็มาช่วยปราบศึกและเมื่อได้พบนางบุษบาก็ลุ่มหลงออกอุบายแต่งทัพปลอมเป็นทัพกะหมังกุหนิงเข้าเผาเมืองแล้วปลอมเป็นจรกาพานางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เธออย่ามัวแต่ว่าคนอื่นไม่มีน้ำใจเลย
ตัวเธอเองก็ไม่ต่างจากคนเหล่านั้นหรอก ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
หมายถึง ร้อนรุ่มอยู่ภายใน
ที่มาของสำนวน
มีที่มาจากไฟที่ติดคุกรุ่นอยู่ภายในขอนไม้ ไม่ออกมาข้างนอก นำมาเปรียบเทียบกับความรู้สึกทางจิตใจทั้งความรัก
ความเกลียด ความโกรธ ความแค้น ฯลฯ ที่ทำให้เกิดความทุกร้อนอยู่ในจิตใจ (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 52)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องของการเลี้ยงดู จะส่งผลทำให้เด็กเป็นคนที่ใจร้อน
โกรธง่าย โมโหง่าย ไม่กล้าแสดงออกให้ใครรับรู้ได้และไม่กล้าสู้หน้ากับสังคม ดังไฟสุมขอน
ที่กำลังเก็บความรู้สึกอยู่ผู้เดียว
3. ที่มาและความหมายของสำนวนไทยที่ว่า “ขี่ช้างวางขอ”
หมายถึง ผู้ที่มีคนในปกครองมาก
ถ้าปล่อยปละละเลยไม่ค่อยว่ากล่าวตักเตือนคนในปกครองก็ย่อมจะทำแข็งกำเริบฮึกเหิมไม่เกร่งกลัว
ที่มาของสำนวน มาจากการบังคับช้าง หากคนขี่ช้างวางขอเสีย ไม่คอยสับช้างไว้ ช้างก็ย่อมอาละวาดได้ จึงนำเปรียบเทียบกับผู้ที่มีคนในปกครองมาก หากปล่อยปละละเลยไม่คอยว่ากล่าวตักเตือน
คนในปกครองก็ย่อมกำเริบแข็งขืนไม่เกรงกลัว (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 72)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน ผมเคยเตือนคุณแล้วว่าอย่าขี่ช้างวางขอต่อให้เป็นคนสนิทแค่ไหนก็ตาม
คุณต้องเข้าไปดูแลร้าน คอยตรวจสอบบัญชีไม่ใช่ไว้วางใจลูกน้องทำทุกอย่าง สุดท้ายลูกน้องก็ยักยอกสินค้าไปโดยไม่รู้ตัว
หมายถึง คำสอนหรือเตือนสติว่า
อย่าทำในสิ่งที่ไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน
ที่มาของคำพังเพย มาจากผลไม้ที่มีลำดับขั้นจาก ดิบ-ห่าม-สุก
ผลไม้ใดที่ข้ามขั้นตอนจากดิบไปสุกเลย โดยอาจผ่านกระบวนการบ่ม
จะไม่อร่อยเท่าผลไม้สุกไปตามขั้นตอนตามธรรมชาติหรือผลไม้ที่สุกคาต้น
จึงนำมาใช้เปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ทำอะไรข้ามขั้นตอน
โดยเฉพาะเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทำให้เป็นผู้หญิงที่ไม่มีค่า (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 18)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
ปัจจุบันผู้หญิงไทยมีชีวิตที่เป็นอิสระมากขึ้น สามารถพบปะพูดคุย เรียนหนังสือ
ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ชาย หรืออาจถูกเนื้อต้องตัวกันได้ก็ตาม
แต่การที่ผู้หญิงสามารถรักษาความบริสุทธิ์ไม่ชิงสุกก่อนห่ามจนกว่าจะถึงวันแต่งงานก็ยังคงเป็นโลกทัศน์ที่คนไทยให้ความสำคัญและแสดงคุณค่าของผู้หญิงนั้นได้
หมายถึง น. คนทำดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับคนร้ายตายขุมว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม
ที่มาของสำนวน มาจากคนไทยเชื่อว่า
ในตัวบุคคลแต่ละคนจะมีผีหรือเทวดาประจำตัวคอยคุ้มครองปกป้องอันตรายให้
ถ้าหากไม่ใช่เป็นเพราะกรรมเก่าที่เคยทำไว้ หรือเพราะเวรกรรมแต่ชาติปางก่อนตามมาทันแล้ว
หากเกิดภัยอันตรายใด ๆ ขึ้นแก่บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติดี
ผีหรือเทวดาประจำตัวก็จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายเหล่านั้น
หรือถ้าเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ ถึงจะถูกคนอื่นทำร้ายหรือกลั่นแกล้งก็จะไม่เป็นอันตรายใด
ๆ
(วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 192)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน คนที่ทำความดี
คิดดีต่อผู้อื่นถึงจะไม่เห็นผลที่ตามมาทันทีแต่เป็นการกระทำของคนที่มีจิตใต้สำนึกที่บริสุทธิ์และจริงใจ
หากทำความดีบ่อย ๆ สม่ำเสมอ จะทำให้ผลของการทำความดีนั้นส่งผลที่ดีต่อชีวิตดังกับคนดีผีคุ้ม
6. ที่มาและความหมายของสำนวนไทยที่ว่า “ขนทรายเข้าวัด”
สำนวนไทย “ขนทรายเข้าวัด”
หมายถึง ก. หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
ที่มาของสำนวน
เกิดจากวัฒนธรรมทางจิตใจทางศาสนา และความเชื่อจากการทำบุญก่อพระทรายที่วัด
โดยที่วัดจัดงานก่อพระทรายจะมีประชาชนที่จะทำบุญพระทรายจะนำเงินทำบุญให้กับผู้จัดการวัด
และไปรับกรวยมาขนทรายที่วัดเตรียมไว้ให้
แล้วเอาทรายใส่กรวยครอบลงไปกับพื้นดินเป็นรูปองค์เจดีย์แล้วนำธงเล็ก ๆ
หรือดอกไม้มาปักที่ยอด หรือนำทรายมาจากบ้านตนเอง
ช่วยกันนำมาถมลานวัดถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน โรงเรียนแห่งหนึ่งมาขอรับบริจาคเพื่อระดมทุนไปสร้างโรงเรียนให้เด็ก
ๆ ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลการศึกษา
การระดมทุนครั้งนี้ก็เหมือนการขนทรายเข้าวัดขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาไปร่วมทำบุญ
สำนวนไทย “ผ้าพับไว้”
หมายถึง กิริยามารยาทเรียบร้อย มักใช้กับผู้หญิงว่า
เรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้
ที่มาของสำนวน มาจากเครื่องนุ่งห่มของผู้หญิงไทยในสมัยก่อนที่ประกอบด้วยผ้านุ่งหรือโจงกระเบน
และสไบหรือผ้าแพรคล้องคอ ซึ่งล้วนแต่มีลักษณะเป็นผ้าผืนยาว
หลังจากทำความสะอาดแล้วจึงต้องพับให้เรียบร้อยแล้วเก็บไว้ในหีบ
เมื่อนำมาใช้รอยพับหรือรอยจีบของผ้ายังสามารถแสดงฐานะของผู้นุ่งห่มได้ด้วย (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 21)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
ผู้หญิงที่ดีไม่ว่าจะมีชาติตระกูลสูงหรือชาติตระกูลต่ำก็ควรต้องมีกิริยามารยาทงดงาม
มีกิริยาวาจาที่สุภาพ นุ่มนวล เรียบร้อย ถูกกาลเทศะ ดังกับผ้าที่พับไว้
ในสมัยก่อนนั้นเรียกผู้หญิงที่มีตระกูลและมีความประพฤติดีว่า “กุลสตรี”
ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวแสดงถึงความเป็นผู้ดีด้วย
หมายถึง ทำให้หมดราคี
ทำให้หมดมลทิน ลบล้างอะไรที่เสียไปให้กลับดีขึ้นใหม่
ใช้กับหญิงที่เสียความบริสุทธิ์ไปแล้ว กลับเอามาทำตัวให้เป็นคนบริสุทธิ์
ที่มาของสำนวน มาจากปลาที่จับมานานจนมีกลิ่น
คนสมัยก่อนจะนำปลานั้นมาใส่เกลือแล้วใส่ตะกร้าล้างน้ำเพื่อให้สามารถกินได้
และใช้เป็นวิธีล้างคาวปลาทำให้ปลาสะอาดหมดกลิ่นคาวได้
คนไทยมองว่าหญิงที่ตกไปอยู่ในมือชายย่อมมีคาว มีมลทิน จึงนำมาเปรียบกับปลา (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 24)
ตัวอย่างการนำไปใช้
ผู้หญิงที่ไม่บริสุทธิ์เนื่องจากถูกผู้ชายแตะต้องหรือล่วงเกินก่อนจัดพิธีแต่งงานถือว่าผิดจารีตประเพณี
สังคมจะประณามว่าไม่รักนวลสงวนตัว ใจง่าย
เป็นผู้หญิงที่ไม่มีคุณค่าเพราะมีราคีติดตัว
จึงทำให้พ่อแม่ต้องจับลูกสาวใส่ตะกร้าล้างน้ำเพื่อหลอกลวงตกตาฝ่ายชายว่าลูกสาวเป็นหญิงที่ดีบริสุทธิ์
สำนวนไทย “ล่มหัวจมท้าย”
หมายถึง ร่วมทุกข์ยากด้วยกัน
อยากมีดีจนด้วยกัน
ที่มาของสำนวน มาจากเรือที่สามีภรรยาใช้พายไปค้าขาย
ช่วยกันทำมาหากิน ซึ่งภรรยาจะพายอยู่หัวเรือ ส่วนสามีจะอยู่ท้ายเรือ
ดังที่พูดกันว่า ผัวถือท้ายเมียพายหัว หรือ ผัวแจวท้ายเมียพายหัว
ดังนั้นหากเรือล่มก็จะจมลงไปด้วยกัน
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน ในอดีตและปัจจุบันมองว่า
ภรรยาที่ดีต้องอยู่เคียงข้างสามีเสมอไม่ว่าที่สามีเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
หากในเวลาที่เป็นสุขก็ร่วมยินดี ส่วนเวลาทุกข์ก็อยู่ล่มหัวจมท้ายไปด้วยกัน
10. ที่มาและความหมายของสำนวนไทยที่ว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก”
สำนวนไทย “น้ำขึ้นให้รีบตัก”
หมายถึง กำลังชะตาขึ้นหากจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ตน
ก็ให้รีบทำเสีย
ที่มาของสำนวน
มาจากน้ำในแม่น้ำลำคลองที่มีเวลาขึ้นลง
เมื่อน้ำขึ้นควรรีบตักใส่ตุ่มไว้เพราะถ้าหากเพิกเฉยน้ำลงแห้งไปก็ตักมาใช้ไม่ได้
เป็นสำนวนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตริมน้ำของคนไทยสมัยก่อนเพราะมีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองในชีวิตประจำวันด้วย
(วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 151)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน ตอนนี้สินค้าของบริษัทเรากำลังเป็นที่นิยม
เป็นที่ต้องการของตลาดมาก โอกาสมาถึงแล้วน้ำขึ้นให้รีบตัก
เพราะฉะนั้นเราต้องฉวยโอกาสนี้ไว้เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า
11. ที่มาและความหมายของสำนวนไทยที่ว่า “เด็ดดอกไม้ร่วมต้น”
สำนวนไทย “เด็ดดอกไม้ร่วมต้น”
หมายถึง ชาติก่อนเคยทำอะไรร่วมกันมาชาตินี้จึงได้มาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง
ที่มาของสำนวน มาจากการเด็ดดอกไม้ไปทำบุญหรือไปไหว้พระ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับผู้หญิงและผู้ชายที่จะไปทำบุญแล้วมาเก็บดอกไม้ต้นเดียวกัน
คนสมัยก่อนมีความเชื่อเกี่ยวกับการที่คนเคยสร้างบุญร่วมกันมามีความเชื่อในเรื่องบุญกรรมและเรื่องชาติภพว่าคนเราจะต้องเกิดและตายวนเวียนไปเช่นนี้จนกว่าจะพ้นทุกข์
ผู้หญิงกับผู้ชายที่เคยเป็นเนื้อคู่กันมาก่อน เคยทำบุญร่วมกันมาก่อนชาตินี้จึงได้มาเป็นคู่กันอีก
(วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 214)
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน อย่าไปขัดขวางความรักของทั้งคู่เลย
ชาติที่แล้วพวกเขาคงเคยเก็บดอกไม้ร่วมต้น ทำบุญร่วมกันมาชาตินี้ถึงได้มาเจอกันอีก แยกกันยังไงก็ไม่ขาด
12. ที่มาและความหมายของคำพังเพยที่ว่า “ตัดหางปล่อยวัด”
คำพังเพย “ตัดหางปล่อยวัด”
หมายถึง ไม่เอาเป็นธุระ เลิกใส่ใจดูแล
ที่มาของคำพังเพย มาจากไก่ โดยเชื่อกันว่า
ไก่พันธุ์พื้นเมืองหรือไก่อูนั้นปกติจะมีสีดำแต่ถ้าหากว่ามีไก่สีขาวเกิดขึ้นมา
ก็จะถือว่าเป็นไก่กาลีหรือไก่กาลกิณี เชื่อว่าถ้านำมาเลี้ยงไว้คนนั้นหรือครอบครัวนั้นก็จะเจอแต่ปัญญาหรือเรียกได้ว่าไก่สีขาวจะนำแต่ความโชคร้ายมาให้
ต้องนำไก่สีขาวไปปล่อยที่วัดให้เป็นไก่วัด
แต่ก่อนจะนำไก่ไปปล่อยนั้นต่อตัดหางออกเสียก่อน จึงเป็นที่มาของสำนวน
ตัดหางปล่อยวัด
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน ดาราคนนี้เงียบหายไปนานไม่มีผลงานให้เห็นคงถูกตัดหางปล่อยวัดไปแล้ว
เพราะทำตัวหยิ่งยโสแถมยังไปมีเรื่องกับนักข่าวอีก
13. ที่มาและความหมายของคำพังเพยที่ว่า “เคาะกะลามาเกิด”
คำพังเพย “เคาะกะลามาเกิด”
หมายถึง เป็นหมามาเกิด
ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ดื้อรั้นเกกมะเหรก เกเร
ที่มาของคำพังเพย
มาจากลักษณะการเลี้ยงสุนัขในสมัยก่อน ซึ่งมักจะใส่อาหารในกะลาให้สุนัขกิน เวลาเรียกมากินข้าวบางทีก็ไม่เรียกด้วยปาก
แต่จะเป็นการเคาะกะลาเรียกอาจจะใช้ไม้ตีกะลาหรือใช้กะลาเคาะกับพื้นก็ได้
พอสุนัขได้ยินเสียงก็จะรีบวิ่งมากินข้าว
ที่ใช้สุนัขเปรีบบเพราะว่าคนไทยมีคติว่าสุนัขเป็นสัตว์ชั้นต่ำ
จะด่าว่าให้เจ็บแสบต้องเปรียบกับสุนัข
สำนวนไทย “คาบลูกคาบดอก”
หมายถึง ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องอะไร
เหตุการณ์นั้นจะส่อไปในทางดีหรือร้ายไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก้ำกึ่งกันอยู่
ที่มาของสำนวน มาจากธรรมชาติของต้นไม้ที่ออกดอก และกำลังจะกลายเป็นลูก
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน จะได้หรือจะเสียก็ยังไม้รู้ (ดอกจะติดลูกเป็นผล
หรือจะร่วงก็ยังไม่รู้) จึงมักเรียกช่วงนี้ว่าช่วงคาบลูกคาบดอก
คำพังเพย “ฆ่าช้างเอางา”
หมายถึง
การทำสิ่งที่มีค่ามากเพื่อให้ได้สิ่งที่มีค่าน้อยนิด
หรือการกระทำที่ทำลายสิ่งสำคัญสิ่งที่มีค่ามากมาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ไม่คุ้มค่า
โดยไม่คิดเลยว่าการกระทำนั้นสมควรหรือไม่
ที่มาของคำพังเพย
เป็นการเปรียบเปรยกับการฆ่าช้าง เพราะเป็นสัตว์มงคลคู่บ้านคู่เมืองที่มีคุณค่ามากฆ่าเพียงเพราะต้องการนำงาไปขายหรือนำมาทำเครื่องประดับถึงกับต้องฆ่าช้างให้ตายเลย
คำพังเพย “กระดูกร้องไห้”
หมายถึง คนที่ถูกฆ่าอย่างไร้ร่องรอยหรือไม่มีพยานหลักฐานทิ้งไว้ให้เห็น
แต่ในที่สุดผู้ร้ายก็ถูกจับกุมได้ด้วยเหตุบังเอิญ
ที่มาของคำพังเพย จากอดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยมีความเชื่อเรื่องวิญญาณของคนตาย
คนที่ตายแล้วไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะผู้ร้ายไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ ทำให้ตำรวจไม่สามารถจับผู้ร้ายได้
แต่ก็มีเหตุบางอย่างทำให้ตำรวจจับผู้ร้ายได้เหมือนกับกระดูกของผู้ตายมาบอกร่องรอยต่างๆดังกระดูกร้องไห้ได้
17. ที่มาและความหมายของคำพังเพยที่ว่า “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ”
หมายถึง ทำอะไรที่เสียทรัพย์มาก แต่ไม่ได้ผลประโยชน์คุ้มกับที่ต้องเสียไป หรือใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์
ที่มาของคำพังเพย มาจากการตำน้ำพริกเพื่อปรุงแกง
ซึ่งสัดส่วนของน้ำพริกต้องพอเหมาะกับน้ำแกงจึงจะได้รสชาติเผ็ดพอดี
แต่ถ้าตำน้ำพริกไปละลายในแม่น้ำที่กว้างใหญ่ก็ไม่สามารถทำให้น้ำในแม่น้ำเผ็ดได้ จึงนำมาเปรียบกับการทำอะไรที่ไม่คุ้มหรือไม่เกิดประโยชน์อันใด
18. ที่มาและความหมายของสำนวนไทยที่ว่า “สวรรค์อยู่ในอก
นรกอยู่ในใจ”
สำนวนไทย “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ”
หมายถึง
ดีหรือชั่วย่อมอยู่ที่ใจตนเอง
ที่มาของสำนวน
มาจากทัศนที่ว่าใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคิดดี ไม่ถือเอาสิ่งไม่ดีมาคิด จิตใจเป็นสุขสงบ
ก็เหมือนได้ขึ้นสวรรค์ หากเกิดความรู้สึกโกรธเกลียดขึ้นในใจทำให้เกิดทุกข์ก็เหมือนอยู่ในไฟนรก
และเผาผลาญตนเอง
19. ที่มาและความหมายของสำนวนไทยที่ว่า “ไกลปืนเที่ยง”
สำนวนไทย “ไกลปืนเที่ยง”
หมายถึง ไม่รู้อะไร เป็นคนบ้านนอกคอกนา
ไม่ทันสมัย
ที่มาของสำนวน
มาจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการยิงปืนใหญ่เพื่อบอกเวลาตอนเที่ยงวัน
แต่ปืนเที่ยงนี้ยิงในพระนครจึงได้ยินแต่ประชาชนในพระนครที่อยู่ใกล้ปืนเที่ยง
คนที่อยู่ห่างไกลออกไปมากก็ไม่ได้ยิน จึงใช้ในความหมายว่า
ไม่รู้เรื่องที่คนในพระนครรู้กัน ต่อมาใช้รวมไปถึงว่าเป็นคนบ้านนอกคอกนา เซ่อเซอะ งุ่มง่าม ไม่ทันสมัยเหมือนสมัยพระนคร (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 95)
สำนวนไทย “ไม้ใกล้ฝั่ง”
หมายถึง มีอยู่มาก แก่ชราเต็มที
ใกล้ความตาย
ที่มาของสำนวน มาจากการนำต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามริมฝั่งลำน้ำมาเปรียบ
คือ ตามริมฝั่งน้ำจะถูกกระแสน้ำเซาะดินทลายอยู่เสมอ เมื่อดินทลายเข้าไปจนถึงต้นไม้และน้ำเซาะรากจนไม่จับดินต้นไม้นั้นก็ล้ม
เหมือนกับคนชราที่ร่างกายเสี่อมลงไปเรื่อย ๆ มีชีวิตใกล้ความตายเข้าไปทุกขณะ (วรารัตน์ มหามนตรี, 2557 : 39)
คำพังเพย “เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด”
หมายถึง คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง
ที่มาของคำพังเพย
มาจากความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณเมื่อคนที่ตายไปแล้ววิญญาณจะล่องลอยตามที่ต่าง
ๆ ซึ่งถ้าเป็นวิญญาณที่ดีสามารถให้คุณหรือบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ได้มนุษย์ก็มักจะสร้างที่อยู่ให้ดวงวิญญาณนั้นมาอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่า
ศาล
แต่ถ้าเป็นผีไม่ดีผีจรจัดก็มักไม่มีใครสร้างศาลให้ทำให้ผีเหล่านั้นเร่ร่อนไปเรื่อย
ๆ ไม่มีที่สิงสถิตเป็นหลักแหล่งเช่นเดียวกับพระซึ่งต้องมีวัดในการปฏิบัติกิจสงฆ์และในการจำวัด
ตัวอย่างการนำไปใช้ ลูกชายคนโตของป้าสุวรรณเป็นคนที่ไม่เอาการเอางานขี้เกียจ
ชอบเที่ยว ย้ายไปอยู่กับญาติคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง จนญาติญาติเอือมระอา ส่ายหน้าไปต่างๆกันและต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
ทำตัวเหมือนเจ้าไม่มีศาลสมภารไม่มีวัด
สํานวนไทย “เผาพริก เผาเกลือแช่ง”
หมายถึง โกรธเคืองใครแล้วทำให้สาแก่ใจด้วยการเอาพริกเอาเกลือมาเผาสาปแช่งให้เป็นไปต่าง
ๆ นานา
ที่มาของสำนวน มาจากความเชื่อในการสาปแช่งคนที่ตนเกลียดชังถ้าจะให้คำแช่งได้ผลรุนแรงหรือคำสาปแช่งนั้นเกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมาจริง
ๆ ต้องเอาพริกเอาเกลือมาเผาด้วยเพื่อให้ผู้ที่ถูกแช่งนั้นจะได้รับผลร้ายจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ผีสางเทวดา ที่บันดาลให้เป็นไปตามคำแช่งแล้วยังมีทั้งความปวดแสบทุกข์ร้อนทรมานอีก
(วาณิช จรุงกิจอนันต์.
2530: 266)
สุภาษิต “ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้”
หมายถึง ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย
ที่มาของสุภาษิต
มาจากความเชื่อว่าคนที่มีของขลังหรือมีเครื่องรางอันศักดิ์สิทธิ์อยู่กับตัวแม้จะได้รับอันตรายหรือถูกทำร้ายด้วยวิธีการอย่างไรก็ไม่เป็นอะไรเพราะเครื่องรางของขลังนั้นมีฤทธิ์เดชอำนาจช่วยปกป้องบุคคลไม่ให้เป็นอันตรายหรือได้รับความเจ็บปวด
เช่น
การมีเหล็กไหลอยู่ในตัวก็จะทำให้อยู่ยงคงกระพันถึงจะถูกฟันแทงหรือถูกทำร้ายก็ไม่เป็นอะไร
(ยมนา ทองใบ. 2550 : 24)
ตัวอย่างการนำไปใช้ ลุงอำนวย จิตเจริญ
เป็นข้าราชการครูที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจต่อคนรอบข้าง ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
ต่อให้ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมแต่ไปที่ไหนก็มีแต่คนรักเคารพนับถือ
แบบนี้แหละที่เรียกว่าตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
สํานวนไทย “ยกเมฆ”
หมายถึง เดาเอานึกเอาคาดเดาเอาเองว่าเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้
ที่มาของสำนวน
มาจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ในการดูเมฆ ดูรูปร่างลักษณะของเมฆ
เพื่อจะดูนิมิตรดีร้ายในการกระทำกิจกรรมสำคัญสำคัญ เช่นการยกทัพ
ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ แต่ถ้าฤกษ์ยกทัพเกิดเมฆเป็นรูปเมรุเผาศพ
หรือว่า ตอนจะเคลื่อนพลแล้วเห็นเมฆเป็นรูปคนไม่มีหัว ทายว่า
ถ้าคืนยกทัพไปก็จะถูกข้าศึกฆ่าตายกันหมดทั้งกองทัพ เป็นต้น
25. ที่มาและความหมายของคำพังเพยที่ว่า “กินปูนร้อนท้อง”
คำพังเพย “กินปูนร้อนท้อง”
หมายถึง ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง
ที่มาของคำพังเพย มาจากตุ๊กแก
ในสมัยโบราณคนมีวิธีจับตุ๊กแกโดยใช้ยาฉุนผสมปูนที่กินกับหมากผูกปลายไม้ล่อให้ตุ๊กแกกิน
เมื่อตุ๊กแกกินปูนและยาฉุนเข้าไป จะแสดงอาการงัวเงียและร้องออกมา
เราเชื่อกันว่าที่มันร้องก็เพราะว่ามันร้อนท้อง จึงนำเอามาเปรียบเทียบกับคนที่ทำ
พิรุธไว้
26. ที่มาและความหมายของสำนวนที่ว่า “ไทยเล็ก
เจ๊กดำ”
สํานวนไทย “ไทยเล็ก เจ๊กดำ”
หมายถึง คนที่ไม่น่าไว้วางใจ ไม่น่าคบหาสมาคมด้วย
ที่มาของสำนวน มาจากสำนวนเต็ม ๆ คือเขมรขาว ลาวใหญ่ ไทยลีก
เจ๊กดำ สํานวนข้างต้นจะเห็นได้ว่า ลักษณะชนชาติที่ปรากฏนั้นตรงข้ามกันทั้งหมด
คนลาวก็รูปร่างไม่ใหญ่โต และเจ๊กส่วนใหญ่จะมีผิวขาวสำหรับคนไทยเป็นคนตัวใหญ่
เพราะคนไทยโบราณแท้ ๆ มักจะมีรูปร่างสูงใหญ่โดยเฉพาะชาวไทยในสมัยโบราณจะมีรูปร่างกำยำ
ล่ำสันสูงใหญ่ ดังนั้นคนที่ดูตัวเล็ก ๆ จิ๋วจิ๋วคนจีนที่ตัวดำคนลาวที่ตัวใหญ่และคนเขมรที่ตัวขาวจึงดูเหมือนผิดปกติไปจากที่เคยเห็นทั่วไป
โบราณก็เลยสอนไว้ว่าอย่าไว้วางใจ ให้รอบคอบถี่ถ้วน พิจารณาให้ดี
เพราะอาจเป็นคนมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง (ยมนา ทองใบ. 2550 : 97)
สุภาษิต “กงเกวียน กำเกวียน”
หมายถึง เวรกรรมนั้นย่อมตามสนองผู้ที่ก่อกรรม
ที่มาของสุภาษิต
มาจากความเชื่อเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม คือเชื่อว่า บุคคลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด
ใครประกอบกรรมดีไว้ย่อมได้รับผลดีตอบแทน
ใครประกอบกรรมชั่วไว้ย่อมได้รับผลชั่วตอบสนองเช่นกัน
เหมือนกับกงล้อของเกวียนที่หมุนวนไปเรื่อย ๆ ตามที่ล้อเกวียนหมุนไป
28. ที่มาและความหมายของสำนวนที่ว่า “คู่สร้างคู่สม”
สํานวนไทย “คู่สร้าง คู่สม”
หมายถึง สามีภรรยาที่เคยทำบุญร่วมกันมาจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ที่มาของสำนวน มาจากคติความเชื่อของคนไทยทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการสร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันมาของชายหญิงโดยเชื่อว่า
คนที่รักกันเป็นเนื้อคู่กัน ต้องเป็นคู่สร้างคู่สมกันมาแต่ก่อนคือทั้งคู่เคยอยู่ร่วมกันมาและสร้างบุญบารมีมาด้วยกัน
ในอดีตชาติ ชาตินี้จึงได้เป็นคู่กันอีก
เหมือนเป็นคู่ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความเหมาะสมแก่กัน
29. ที่มาและความหมายของสุภาษิตที่ว่า
“บุญทำ กรรมแต่ง”
สุภาษิต “บุญทำกรรมแต่ง”
หมายถึง บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อน
ที่มาของสุภาษิต เกิดจากคติความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาว่าการเกิดมาของคนเรานั้นเป็นเพราะผลแห่งบุญกรรมที่ได้ทำไว้แต่ชาติก่อน
ผลบุญนั้นก็จะส่งผลในชาตินี้ ใครทำกรรมดีไว้ในชาติก่อน
ชาตินี้ก็จะได้รับผลของกรรมดีนั้น เกิดมาเป็นคนฉลาด รูปร่างสวยงาม
แข็งแรงไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
30.
ที่มาและความหมายของสำนวนที่ว่า “บุญมาวาสนาส่ง”
สํานวนทไย “บุญมาวาสนาส่ง”
หมายถึง ถึงคราวมีโชคดี
ที่มาของสำนวน เกิดจากความเชื่อทางพุทธศาสนาเมื่อชีวิตของคนเรามาอยู่ในช่วงชะตาดี
ผลบุญส่งให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง วาสนาจะช่วยส่งเสริมให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้นไป
เมื่อถึงคราวมีโชคดีทำอะไร ๆ ก็จะดีไปหมดทุกอย่าง คนไทยจึงนิยมทำบุญ ทำทานเช่น
ตักบาตรถวายสังฆทาน เพราะเชื่อว่าการทำบุญผลบุญนั้นจะส่งให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
มีโชคมีลาภ เจอสิ่งดี ๆ เพราะมีบุญมีวาสนาช่วยส่งเสริม
ตัวอย่างการนำไป เด็กคนนี้ถึงแม้จะเกิดมาอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าแต่ก็มีบุญมาวาสนาส่งให้มีเศรษฐีรับเลี้ยงไปเป็นลูกบุญธรรมและทำให้เขามีโอกาสที่ดีมีชีวิตที่ดีจนตอนนี้เขามีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โตเป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม
บรรณานุกรม
ยมนา ทองใบ. 2550. การศึกษาสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ.
สารนิพนธ์ กศ.ม. ภาษาไทย
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วรารัตน์ มหามนตรี. 2557. โลกทัศน์ของคนไทยจากภาษิต. พิมพ์ครั้งที่1. พิษณุโลก: ดวงเงินการพิมพ์
วาณิช จรุงกิจอนันต์. 2528. ถกสำนวนไทย1.
กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์
ล้อม เพ็งแก้ว. 2553. สืบสนองสำนวนไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ
จัดทำโดย
นายเสถียรพงษ์ ประจักจิต รหัส
5942320064
นางสาวศรีจันทร์ นามศรี รหัส
5942320078
นางสาวสุภาวดี พลหาร รหัส
5942320079
วิชาคำและสำนวนไทยร่วมสมัย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี